เปิดข้อเสนอ 'เอกชน' ยื่นนายกฯ อุ้ม SME สกัดหนี้เสีย

เปิดข้อเสนอ 'เอกชน' ยื่นนายกฯ อุ้ม SME สกัดหนี้เสีย

นายกฯ เปิดทำเนียบถกเอกชนอุ้มธุรกิจขนากกลาง-ย่อม “สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย” ชงตั้งกองทุนพยุงหนี้ป้องกันเอ็นพีแอลพุ่ง หลังข้อมูลเสี่ยงหนี้เสียพุ่งจาก 1.7 แสนล้านเป็น 4.4 แสนล้านบาท หอการค้า-ส.อ.ท.หนุนเปิดประเทศใน 120 วัน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาลวันที่ 23 มิ.ย.2564 เพื่อประชุมร่วมกับภาคเอกชนในการช่วยเหลือ SME ที่ได้รับผลกระทบจากการโควิด-19 โดยมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เข้าร่วม 

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า ได้เสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นอย่างมากโดยได้เสนอให้รัฐบาลดูแลในส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ของเอสเอ็มอีที่เพิ่มขึ้นมากหลังจากที่เกิดสถานการณ์โควิดโดยเสนอให้มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูเอ็นพีแอลขึ้นซึ่งรัฐบาลได้รับที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ 

ทั้งนี้ปัจจุบันจากวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีทั้งสิ้น 3.5 ล้านล้านบาท มีจำนวนหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอลไปแล้ว 2.4 แสนล้านบาท ขณะที่หนี้ของผู้ประกอบการที่ใกล้จะเป็นระดับเอ็นพีแอลหรือหนี้เสียอยู่ที่ประมาณ 4.4 แสนล้านบาท รวมทั้ง 2 ส่วนเป็น 20% ของวงเงินที่รวมกันทั้ง สองกลุ่มเท่ากับ 20% ซึ่งส่วนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วยที่จะเกิดโควิด-19 ที่อยู่ที่เพียง 1.7 แสนล้านบาทเป็นอย่างมากซึ่งหากไม่มีกลไกที่เข้ามาดูแลหนี้ส่วนนี้ก็จะกลายเป็นเอ็นพีแอลที่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และกระทบกับสถาบันการเงินด้วยจึงเป็นเรื่องที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยและให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาไปด้วยกัน

ในส่วนของข้อเสนออื่นที่นายกรัฐมนตรีรับไปพิจารณา ได้แก่

1.การเสนอให้ปรับแก้กฎระเบียบต่างๆให้กองทุนดังกล่าวสามารถให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงกองทุนประกันสังคมที่มีวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ให้สามารถกู้เงินจากกองทุนนี้ได้มากขึ้น โดยในปัจจุบันมีข้อจำกัดและข้อปฏิบัติมากทำให้เอสเอ็มอีเข้าไปไม่ถึงสินเชื่อในส่วนนี้ ซึ่งเรื่องนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรับไปพิจารณา 

2.เสนอให้มีการปรับนิยามของคำว่าเอสเอ็มอี ซึ่งขอให้ใช้ตามนิยามของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อให้เป็นมาตรฐาน และเสนอหลักเกณฑ์การผ่อนปรนการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟโลนให้กับผู้ประกอบการนิติบุคคลที่เสียภาษี ภงด.50 และผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษี ตาม ภงด. 90 โดยจะต้องนำผู้ประกอบการเหล่านี้เข้าไปช่วยเหลือในลำดับแรกๆ

3.ขอให้มีมาตรการช่วยเหลือพักต้นพักดอกเบี้ยในส่วนหนี้เดิม ก็จะได้รับการพักต้นพักดอกโดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6-12 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มีระยะเวลาฟื้นตัวและเมื่อเศรษฐกิจกลับมาดีใหม่อย่างที่นายกฯได้ประกาศว่า 120 วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบประกอบการเอสเอ็มอีที่ประสบภาวะวิกฤตจากโควิด-19 จะได้กลับฟื้นไม่ตกอยู่ในกับดักทางการเงิน 

นายสนั่น อังอุบลกุล  ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้เสนอให้พิจารณาปลอดล็อคให้ลุกหนี้ที่ติดเครดิต บูโร หรือ เอ็นพีแอล ให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ โดยขอให้รัฐบาลผ่อนคลายกฏระเบียบให้สถาบันการเงินมีอิสระในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ไม่ใช่พิจารณาจากเครดิตบูโรเพียงอย่างเดียว เพราะสมัยที่มีเครดิตบูโร ตั้งแต่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ธนาคารพาณิชย์อ่อนแอ แต่ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เข้มแข็งมาก มีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อได้ดี จึงไม่ควรเอาเรื่องเครดิตบูโรมาเป็นข้อจำกัด ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในดุลพินิจกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยทำได้โดยไม่ต้องแก้กฏหมาย

“นอกจากนี้ได้เสนอให้รัฐบาลวางแผนใช้เงินกู้ 500,000 ล้านบาท มาสร้างความคึกคักให้กับเศรษฐกิจก่อนจะเปิดประเทศ 120 วันเพื่อให้เอกชนสามารถฟื้นทางเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น โดยต้องมีมาตรการอื่นๆมาเสริมทั้งในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย สำหรับโครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้ มองว่ามีความยุ่งยาก แต่รัฐบาลบอกว่าขอลองใช้ไปก่อน ทางผมเสนอว่าให้ทำโครงการแบบเดิม คือ ช้อปดีมีคืน ให้นำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีสะดวกดีที่สุดอยู่แล้ว” นายสนั่น กล่าว