‘สภาพัฒน์’ ประเมินหนี้ครัวเรือนกดดันความสามารถใช้จ่ายปชช. ยันหนี้เสียยังไม่น่าห่วง

‘สภาพัฒน์’ ประเมินหนี้ครัวเรือนกดดันความสามารถใช้จ่าย ยันหนี้เสียยังไม่น่าห่วง

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ปี 2564 ต้องอาศัยการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหนี้ครัวเรือนและกำลังซื้อ เป็นปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของประชาชนลดต่ำลง ซึ่งปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน มีความยากในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากต้องแยกรายละเอียดในการใช้จ่ายของแต่ละกลุ่มคนแบบละเอียดและชัดเจนจริงๆ ว่าหนี้ครัวเรือนแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร ความสามารถในการจ่ายของแต่ละคนเป็นอย่างไร โดยเรื่องดังกล่าวต้องมีการแก้ไข และต้องหามาตรการออกมารองรับ ซึ่งก็ต้องหารือกันต่อไป อย่างไรก็ตาม

“หนี้ครัวเรือน อัตราส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ถือว่าสอดคล้องกับจีดีพี แต่ว่าต้องพิจรณาไส้ในของหนี้ครัวเรือนว่า มีหนี้ไม่ก่อรายได้ หรือหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) อยู่ในสัดส่วนที่เท่าใด ซึ่งขณะนี้เอ็นพีแอลของหนี้ครัวเรือน อยู่ที่ 3% ซึ่งถือว่าไม่ได้มีควมน่ากังวลมากนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสบายได้ จึงต้องหาทางแก้ไขปัญหาในระยะสั้น และระยะยาวต่อไป” นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา กล่าวว่า การหามาตรการมาเพื่อแปลงหนี้ครัวเรือน ที่ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการบริโภคเป็นหลัก อาทิ หนี้บัตรเครดิต ซึ่งต้องหาทางทำให้แปลงหนี้เหล่านี้ให้เป็นนี้ระยะยาว เพื่อให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น โดยจะต้องพิจารณาคุณภาพลูกหนี้ของแต่ละบุคคล ไม่สามารถทำทั้งหมดได้ เพราะคนที่มีวินัยทางการเงิน ต้องได้รับความช่วยเหลือ แต่คนที่ไม่มีวินัยทางการเงิน ก็ไม่ควรที่จะได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งการแก้ไขในระยะยาว จะต้องสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชนทุกคนต่อไป

“ในปัจจุบันมีช่องทางในการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย และเป็นหนี้ได้ง่ายขึ้น อาทิ โปรโมมชั่นลดแลกแจกแถมต่างๆ หรือการผ่อนชำระแบบดอกเบี้ย 0% ถือเป็นการกระตุ้นให้คนอยากซื้อ ทั้งที่ไม่ได้มีความสามารถในการใช้จ่ายจริง ซึ่งหากถามในกลุ่มของคนที่มีวินัยทางการเงิน ก็จะไม่ซื้อของที่อิงกับความอยาก เพราะจะมองเรื่องความสามารถในการใช้จ่ายจริงเป็นหลัก” นายดนุชา กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image