posttoday

BCG พลิกวิกฤตเป็นโอกาสอุตสาหกรรมไทย จี้รัฐเร่งปลดล็อกกฏเหล็ก

24 พฤศจิกายน 2564

รัฐ-เอกชนร่วมเดินหน้า BCG Model หวังเพิ่มมูลค่าจีดีพี 1 ล้านล้าน พร้อมปรับโฉมอุตสาหกรรมในอนาคต สอดรับเงื่อนไขการค้าโลก

นายวีริศ  อัมระปาล  ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยในงานเสวนารูปแบบออนไลน์ เรื่อง "BCG Model จุดเปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมไทย"  ซึ่งจัดโดยโพสต์ทูเดย์ ว่า BCG Model เป็นนโยบายสำคัญของการดำเนินการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตจมีแผนลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์  มีการนำของเสียหรือขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า 

ทั้งนี้ที่ผ่านมากนอ.มีโครงการคล้ายกับ BCG Model  ซึ่งดำเนินการมาเมื่อ 20 ปีก่อน คือ โครงการเมืองอุตสาหรกรรมเชิงนิเวศน์ กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมและชุมชนต้องอยู่ด้วยกันได้  โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนในโรงงานนำของเสียกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์   และจากการสำรวขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กับ ผู้ประกอบการ 500 บริษัทในไทย พบ ว่า ในสัดส่วน 49% ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง สิทธิประโยชน์เพื่อลงทุนที่เกี่ยวข้องกับBCG แต่อีก 51% ไม่สนใจ  เนื่องจากยังมีสิทธิประโยชน์ที่ไม่จูงใจและไม่เปิดกว้างพอซึ่งเห็นว่าควรจะมีทบทวนสิทธิประโยชน์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ

อย่างไรก็ตามในส่วนของภาคเอกชนเองหากต้องการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ BCG จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพื่อเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน  ทั้งซัพพลายเชน   การฝึกแรงงานให้เกิดการเรียนรู้นวัตกรรมใหม่  ซึ่งต้องยอมรับว่ามีค่าใช้จ่าย  และต้องประเมินว่าการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้จะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายหรือไม่  ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐจะช่วยได้ตอนนี้คือสิทธิประโยชน์บีโอไอที่จะได้รับทั้งเรื่องภาษี   การนำคาร์บอนเครดิตไปใช้  อย่างกรณีการส่งออกสินค้าในขณะนี้   บางประเทศเริ่มมีเงื่อนไขในเรื่องการลดใช้คาร์บอน หากทำมาตรฐานคาร์บอนให้ใช้ในระดับสากลได้ จะมีส่วนช่วยเอกชนได้  ซึ่งกนอ.สนับสนุน การนำคาร์บอนไปใช้ในการเทรดได้มากขึ้น  ล่าสุดได้หารือกับส.อ.ท. เพื่อพัฒนาตลาดเทรดคาร์บอนแล้ว

นายวีริส กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มที่พร้อมเข้าสู่ BCG Model มากที่สุดคืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่นกลุ่มปตท.และเอสซีจี โดยพยายามผลักดันให้รายใหญ่นำร่องไปก่อนหลังจากนั้นให้กลับมาสนับสนุนรายเล็กหรือเอสเอ็มอีให้มีการปรับตัว

อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระบต่อนโยบาย BCG  เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมต้องหยุดการผลิตแต่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย จำเป็นต้องหันมาปรับตัว เพื่อกลับมาสู่ธุรกิจหลักของตัวเอง

“BCG Model เป็นนโยบายที่ดีหลายหน่วยงานสามารถร่วมกันผลักดันได้   ถ้าเราช่วยกันจัดการทรัพยากร ลดโลกร้อน พัฒนาซัพพลายเชน  อยากให้ทุกคนร่วมกันเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้”

ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรม มีความท้าทายหลายเรื่องที่ต้องรีบเร่งการปรับตัว  ทั้ง ดีสทรัพชั่น  สงครามการค้า และปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยอีกเรื่องที่ภาครัฐได้ประกาศไว้คือผลักดันให้ BCG Model ป็นวาระแห่งชาติ เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าจีดีพีได้อีก  1  ล้านล้านบาท  หรือคิดเป็น 25%

“ผมมองว่าเป็นเกมเปลี่ยนอันหนึ่ง เพราะอุตสหากรรมของ มี 45 กลุ่มอุต 11 คลัสเตอร์  ส่วนใหญ่แม้ส่งออกได้มาก แต่เป็นอุตสาหกรรม ที่รับจ้างผลิต  ขณะที่ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ราไม่สามารถอยู่ในโมเดลเดิมได้ เรามีคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้านมีจุดแข็ง มีสิทธิประโยชน์  เอฟทีเอ จึงเห็นการย้ายการผลิตดังนั้นไทยต้องหาโมเดลใหม่ๆ   ซึ่ง BCG ทำได้เพราะไทยมีความได้เปรียบโดยเฉพาะBio Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพเนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นจุดที่เราเพิ่มมูลค่าได้   เช่นอุตสาหกรรมอาหาร เดิมมีการแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูป แต่ปัจจุบัน มีการพัฒนาในเรื่องยารักษาโรค  อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร  พลังงานและ ไบโอพลาสติก”

ทั้งนี้ภาคเอกชนมีการตื่นตัวกับเรื่องนี้ และร่วมมือกับกนอ.มาโดยตลอด โดยสอท.มีหน่วยงาน สถาบันสิ่งแวดล้อมและสถาบันน้ำที่ดูแลเรื่อง BCG  มีการจัดทำ  กรีน แฟคตอรี่ เพื่อให้โรงงานอยู่ร่วมกับชุมชน มีโรงงานเข้าร่วม  270 แห่ง และในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาต้นแบบ BCG ของแต่ละอุตสาหกรรม 

อย่างไรก็ตาม BCG มีความสำคัญและมีบทบาทกับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งถือเป็นทางรอดในระยะยาว  เช่นอุตสาหกรรมอาหาร โปรตีนทางเลือก กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก ส่วนหนึ่งมาจาก BCG  มีการนำพืชมาทดแทนอาหาร

ขณะที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับมลพิษต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่หมด  นำของสิ้นเปลืองมารีไซเคิล กติกาในโลกจะระบุว่าสินค้าที่ส่งออกไปยุโรปและสหรัฐจะต้องระบุด้วยว่ามีชิ้นส่วนไหนที่มาจากการรีไซเคิลกี่เปอร์เซ็นต์  

นายเกรียงไกร กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคของนโยบาย BCG นั้น หากเป็นบริษัทรายใหญ่ไม่มีปัญหา แต่สำหรับเอสเอ็มอีมีปัญหาเรื่องแหล่งทุน เพราะทำให้เกิดต้นทุนมากขึ้น ดังนั้นแรงจูงใจสำคัญคือต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอี BCG ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้รัฐต้องทบทวนกฏระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ทั้งการออกใบอนุญาตหรือกฏหมายผังเมืองที่ทำให้การตั้งไบโอคอมเพล็กซ์มีปัญหา เนื่องจากไม่อนุญาตให้มีการตั้งโรงงานในพื้นที่สีเขียวที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบที่สำคัญได้

“บีซีจีจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมและเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจในการแข่งขันต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน  โดยพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรที่มี่อยู่ให้เกิดความยั่งยืนเชื่อว่าเราจะพลิกวิกฤตครั้งนี้เพื่อทำให้ BCG Model นำไปสู่ความยั่งยืนของภาคอุตสหกรรมซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกัน”