เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 32 จังหวัด ยื่นหนังสือขอชะลอเข้าร่วม CPTPP

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 32 จังหวัด พาเหรดยื่นหนังสือถึงรัฐ ชะลอเข้าร่วม “CPTPP” ขอให้คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน

วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศจำนวน 32 จังหวัด ต่างเข้ายื่นจดหมายต่อ ส.ส. ส.ว. ผู้ว่าราชการจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรม และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่จังหวัดของตนเอง เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้ชะลอส่งหนังสือเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) จนกว่าจะมีผลการศึกษาที่เป็นผลที่แน่ชัดแล้วว่า ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์มากกว่าเสียผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP


สำหรับพื้นที่ 32 จังหวัด ประกอบด้วย พะเยา ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย แพร่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด  นครราชสีมา  ยโสธร สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา  ตราด สระแก้ว สมุทรปราการ กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี สตูล ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร 

โดยรายละเอียดการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลของเครือข่ายประจำจังหวัดต่าง ๆ รายละเอียด การยื่นหนังสือต่อรัฐบาลของเครือข่ายประจำจังหวัดต่าง ๆ นั้น 7  จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัด ได้ยื่นต่อ ขอนแก่น สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ราชบุรี ปัตตานี และกรุงเทพมหานคร  ยื่นผ่านวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี 

ยื่นผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ ขอนแก่น ตราด สมุทรสงคราม นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี  ยื่นผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน พะเยา ร้อยเอ็ด นครราชสีมา สุรินทร์ ยโสธร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สระแก้ว สุพรรณบุรี สตูล ชุมพร นราธิวาส สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต สงขลา ปัตตานี และพระนครศรีอยุธยา  

ยื่นผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัด จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ขอนแก่น และชุมพร และยื่นผ่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และสภาเกษตรจังหวัด จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม และชุมพร

สำหรับข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศทั้ง 32 จังหวัด ได้ระบุให้ คณะรัฐมนตรี  คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ขอให้ตระหนักในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนไทยทั้งประเทศ 

หากมีการเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP และควรพิจารณาด้วยความรอบคอบและมองประโยชน์ของประชาชนที่เป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ มากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจของกลุ่มคนส่วนน้อยของประเทศ